เปิดมุมคิดนักเศรษฐศาสตร์ มองเฟดขึ้นดอกเบี้ยทะลุเศรษฐกิจไทย

ในที่สุดธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ก็ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี เพื่อเบรกอัตราเงินเฟ้อสหรัฐที่ร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ พร้อมส่งสัญญาณว่าจะปรับอีกราว 6 ครั้ง ซึ่งจะทำให้ปลายปีนี้ดอกเบี้ยเฟดจะไปอยู่ที่ 1.75-2.00% ต่อปี รวมถึงจะเริ่มดูดสภาพคล่องคืน (QT) ในการประชุมครั้งต่อไป ในวันที่ 3-4 พ.ค. 2565 จึงต้องมาพิจารณากันว่า จะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าอย่างไรบ้าง ธปท.ยืนดอกเบี้ยต่ำฟื้นเศรษฐกิจ “ดร.ปิติ ดิษยทัต” ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 16 มี.ค. ก่อนเฟดประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยว่า ถึงแม้ว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย แต่ไทยยังไม่จำเป็นต้องปรับดอกเบี้ยตาม โดยนโยบายการเงินยังคงให้น้ำหนักกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง และไม่สะดุด นอกจากนี้ การปรับขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐเชื่อว่าจะไม่เป็นสาเหตุที่ทำให้ฟันด์โฟลว์ไหลออก เนื่องจากส่วนต่างดอกเบี้ยยังไม่แตกต่างกันมาก รวมถึงนักลงทุนน่าจะมองเรื่องของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะปานกลางเป็นหลักมากกว่าการมองเรื่องของผลตอบแทน 3 ข้อจำกัด เพิ่มแรงกดดัน ธปท. ขณะที่ “ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย” หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่า จากทิศทางนโยบายของเฟดอาจจะทำให้มีแรงกดดันในการดำเนินนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีข้อจำกัดมากขึ้น เพราะตอนนี้ ธปท.ยืนยันว่า ไทยยังไม่จำเป็นต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย […]