ตลท. จัดทำเอกสารลับประเมิน 6 ผลกระทบจากการเก็บ”ภาษีหุ้น” จากการขายหลักทรัพย์ หรือ Transaction Tax ชี้กระทบเป็นลูกโซ่ ทั้งบริษัทหลักทรัพย์ นักลงทุน ตลาดทุนไทย กลุ่มตลาดหลักทรัพย์ ก.ล.ต. รวมทั้งกรมสรรพากร
กรณีกรมสรรพากรมีแนวคิดจัดเก็บภาษีหุ้นจากการขายหลักทรัพย์ ตามนโยบายของกระทรวงการคลัง ล่าสุดฐานเศรษฐกิจตรวจสอบพบว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ได้จัดทำเอกสารลับ CONFIDENTAIL ประเมินผลกระทบของการเรียกเก็บภาษีจากการขายหลักทรัพย์ (Transaction Tax) ต่อบริษัทหลักทรัพย์ นักลงทุนซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้ ตลาดทุนไทย กลุ่มตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) รวมทั้งกรมสรรพากร
เอกสารลับ CONFIDENTAIL ของตลท. ระบุว่าการจัดเก็บภาษีการซื้อขายในตลาดหุ้นในภูมิภาค ประเทศที่เป็นศูนย์กลางและผู้นำทางการเงินของภูมิภาคอย่างฮ่องกงและสิงคโปร์ รวมถึงคู่แข่งใกล้ชิดของไทยอย่างมาเลเซีย เลือกจัดเก็บเฉพาะ stamp duty tax และยกเว้นกาษีอื่นในดลาดหุ้น เพื่อดึงดูดความน่าสนใจในการลงทุนของประเทศ
ตลาดหุ้นในภูมิภาคเกือบทั้งหมด เลือกจัดเก็บ transaction tax หรือ stamp duty tax เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง โดย transaction tax จะเก็บจากเฉพาะธุรกรรมขาขาย
การจัดเก็บ capital gain tax สำหรับบุคคลธรรมดา ไม่เป็นที่นิยมในภูมิภาค โดยพบเพียงเกาหลีที่จัดเก็บและเก็บเฉพาะ major shareholder เท่านั้น
ในเอกสารลับ CONFIDENTAIL ของตลท. ได้ประเมินผลกระทบของการเรียกเก็บภาษีจากการขายหลักทรัพย์ (Transaction Tax) ไว้ 6 ด้าน ดังนี้
1.ผลกระทบต่อบริษัทหลักทรัพย์
1.1 รายได้ค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ลดลง จากปริมาณการซื้อขายที่คาดว่าจะลดลง
1.2 รายได้ในช่องทางอื่นๆที่ลดลง จากความสนใจในการระดมทุนตลาดแรกน้อยลง เช่น รายได้จากการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินและจัดจำหน่ายหลักทรัพย์
ผลกระทบรายได้ที่สัมพันธ์กับปริมาณการซื้อขายที่ลุดลง เช่น รายได้จากดอกเบี้ยงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ส่งผลต่อต้นทุนที่สูงขึ้นสำหรับบริษัทที่มีการลงทุนในหลักทรัพย์
1.3 อุปสรรคในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ต้นทุนที่เพิ่ม จากการออกผลิตภัณฑ์ซึ่งจำเป็นต้องบริหารความเสี่ยง สร้างสภาพคล่อง เช่น สร้างสภาพคล่องของตราสาร DR,DW และ ETF บริหารความเสี่ยงของตราสาร เช่น การ hedge ธุรกิจ SSF Block Trade, Structured Note
2. ผลกระทบต่อนักลงทุน
2.1 นักลงทุนมีต้นทุนการลงทุนสูงขึ้น ซึ่งทำให้ผลตอบแทนของการซื้อขายลดลง นักลงทุนในหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์โดยตรงมีต้นทุนการลงทุนต่อหน่วยเพิ่มขึ้น นักลงทุนกลุ่มอื่นๆ เช่น ผู้ถือหน่วยกองทุนรวม นักลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนต่างประเทศ เนื่องจากปัจุบัน ต้นทุนจากการลงทุน มี 3 ส่วน ได้แก่
ค่านายหน้าจากการซื้อขายหลักทรัพย์
ค่าธรรมเนียมที่ให้หน่วยงานกำกับดูแล ได้แก่ SET trading fee (0.005%) / TSD Clearing fee (0.001%) / Regulatory fee (0.001%)
Vat (7%)
ขณะที่ ภาษีจากการขายหุ้น มีอัตรา 0.11%
2.2 นักลงทุนมีความสนใจในการลงทุนตลาดหลักทรัพย์ลดลง จากผลสืบเนื่องจากผลตอบแทนที่ลดลง
3. ผลกระทบต่อตลาดทุนไทย
3.1 ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นที่ลดลง ปริมาณการซื้อขายโดยรวมคาดว่าลดลง 30% และอาจลดลง 50 – 70% ในกรณีที่ transaction tax สูงมากกว่าผลตอบแทนที่ได้รับจากการซื้อขายของนักลงทุนบางกลุ่ม จากส่วนของนักลงทุน foreign program trade และ retail day trade ที่ลดลง 50% และนักลงทุนอื่นๆ ลดลง 15% (base case จากผลการศึกษาของตลาดหลักทรัพย์ฯ)
โครงสร้างการซื้อขายหุ้นในปัจจุบัน กว่า 1 ใน 3 ของมูลค่าการซื้อขายเป็น program trade และมีนักลงทุนรายใหญ่ที่จ่ายค่าธรรมเนียมการซื้อขายอยู่ในระดับต่ำมาก การเพิ่มต้นทุนธุรกรรมจากภาระภาษีในอัตราภาษีที่เสนอ จะทำให้มูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนเหล่านี่หายไปเป็นส่วนใหญ่
ด้งนั้นผลกระทบต่อมูลค่าการซื้อขายที่มากกว่าที่ประเมินไว้ จะส่งผลให้รายได้ภาษีที่จัดเก็บได้จริงอาจน้อยกว่าคาด ในขณะที่ผลกระทบจาการจัดเก็บมีมากกว่าที่ประเมินไว้ได้
3.2 อัตราผลตอบแทนสุทธิ (Price gain + Dividend yield Trading cost) ที่ได้รับจากการลงทุนในตลาดหุ้นไทยลดลง ซึ่งจะเป็นการทอนความน่าสนใจในการเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย และทำให้ P/E และ P/B ของตลาดลดลง
3.3 สภาพคล่องในตลาดที่ลดลง (ปัจจุบันตลาดหุ้นไทย เป็นตลาดที่มีสภาพคล่องสูงที่สุดในภูมิภาค) ส่งผลให้ต้นทุนการซื้อขายเพิ่มขึ้น ความผันผวนของราคาเพิ่มขึ้น และกระทบต่อกระบวนการค้นพบราคาที่เหมาะสม (Price Discovery) ในตลาด
3.4 ตลาดหุ้นไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล ซึ่งอาจส่งผล ดังนี้
ตลาดหุ้นไทยอาจถูกปรับลดน้ำหนักใน Benchmark indices ที่สำคัญต่างๆ
ลดความน่าสนใจในการไข่ SET index ในการเป็นดัชนีอ้างอิงในการออกผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ลดความสนใจของบริษัทต่างๆที่จะเข้ามาระดมทุน
มีแนวโน้มที่นักลงทุนไทยและต่างประเทศจะกระจายการลงทุนไปยังตลาดต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในการกระจายความเสี่ยงและโอกาสในการลงทุนที่กว้างและน่าสนใจมากขึ้น
การลงทุนนอกตลาด (dark pool) ในต่างประเทศ เพื่อไม่ให้มีภาระภาษี
บริษัทผู้ออกตราสารอาจตัดสินใจเลือกระดมทุน ในตลาดต่างประเทศแทน
Foreign Capital Inflow ลดลง
ลดความสามารถในการแข่งขันผลิตภัณฑ์กับต่างประเทศ เช่นตัวอย่างจากผลิตภัณฑ์ DW ที่มีการเก็บภาษีดังกล่าวจะเพิ่มทั้งต้นทุนในการซื้อขายและ hedging อีกทั้งยังโดนเก็บภาษีทั้งจากธุรกรรมบน DW เองและธุรกรรม hedging ของผู้ดูแลสภาพคล่อง ซึ่งเป็น double taxation
3.5 ตลาดหุ้นไทยสูญเสียความสามารถในการเป็นแหล่งระดมทุน ที่บริษัทต่างๆสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนด้วยต้นทุนที่เหมาะสม ซึ่งอาจส่งผล ดังนี้
กระทบต่อการลงทุนในธุรกิจ การจ้างงาน และเศรษฐกิจในภาพรวม
การซื้อขายที่ลดลดของนักลงทุนทุกกลุ่ม เป็นการเพิ่ม cost of equity และ cost of โดยเฉพาะ SME ที่จะประสบปัญหาในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เมื่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเป็นอุปสรรคใหญ่ของบริษัทที่จะพัฒนานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ จึงส่งผลทางลบต่อนโยบาย การพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศ
4. ผลกระทบต่อกลุ่มตลาดหลักทรัพย์
รายได้ของตลาดหลักทรัพย์ฯและบริษัทในเครือลดลง จำกัดความสามารถของตลาดหลักทรัพย์ฯในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่างๆและสนับสนุนการพัฒนาการใหม่ๆในตลาดทุน อ้างอิงจากปริมาณการซื้อขายที่ประเมินว่าลดลงประมาณ 30%
5. ผลกระทบต่อสำนักงาน ก.ล.ต.
รายได้ที่สำนักงานก.ล.ต.ได้รับจากเงินอุดหนุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯและผู้ประกอบการจะลดลง เพราะปริมาณการซื้อขายที่ลดลงเนื่องจากค่าธรรมเนียมจะผันแปรตามปริมาณการซื้อขาย
6.ผลกระทบต่อกรมสรรพากร
ถึงแม้กรมสรรพากรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเรียกเก็บภาษีจากการขายหุ้น แต่ก็จะสูญเสียรายได้บางส่วนที่เกิดจากการที่ปริมาณซื้อขายที่ประเมินว่าลดลงประมาณ 30% ได้แก่
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัทหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ฯรวมถึงบริษัทในเครือ
ภาษีเงินได้นิติบุคคลจากบริษัทหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ฯรวมถึงบริษัทในเครือ
ภาษีเงินได้ของนิติบุคคลจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ